วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการ Set ให้ลินุกซ์ boot โปรแกรมหรือ Application ที่เราเขียนไว้ให้รันอัตโนมัติเมื่อเปิด

1. ไปที่  /etc/init.d/
2. สร้างไฟล์ .sh เช่น qtautorun.sh
3. พิมพ์ข้อความต่อไปนี้

#!/bin/sh

# Set Environment of QT
export TSLIB_TSEVENTTYPE=input
export TSLIB_CONSOLEDEVICE=none
export TSLIB_FBDEVICE=/dev/fb0
export TSLIB_TSDEVICE=/dev/input/event2
export TSLIB_CALIBFILE=/etc/pointercal
export TSLIB_CONFFILE=/etc/ts.conf
export TSLIB_PLUGINDIR=/usr/lib/ts
export QWS_MOUSE_PROTO=tslib:/dev/input/event2
export QTDIR=/usr/local/Qt

#run my application
chmod +x app
./app -qws &


4.  จากนั้นทำการ permission ไฟล์ .sh ที่สร้างขึ้นมาเมื่อสักครู่นี้ ก่อนโดยใช้คำสั่ง

chmod +x qtautorun.sh

5. เพื่อทำการ link ไปยัง level ในการบูตระบบด้วยคำสั่ง ln -s /etc/init.d/qtautorun.sh /etc/rc5.d/S105qtautorun  

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Beagle Board ทางเลือก สำหรับ Embedded Linux

              หลังจากที่ได้สัมผัสกับ Friendly ARM มาสักระยะ  ก็ได้มีโอกาสมาทดสอบ ทดลอง เล่นกับ Beagle Board ซึ่งก็ผมว่า Spec โดยรวมนั้น สูงกว่า Friendly ARM อย่างมากเลย ที่เดียว  ก็เลยถือโอกาสมา Review กับ BeagleBoard xM กันเลยน่ะครับ


                จุดเด่นหลัก ๆ ที่สำคัญของ Beagle Board ก็คือ CPU  1.0 GHz และ DDR Ram 512 MB ทำให้ความสามารถในการรัน Application ที่ต้องใช้ Resource มาก ๆ ทำได้ดีกว่า Friendly ARM อย่างแน่นอน  
                นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง การแสดงผล  ที่มี Resolution สูงถึง Full HD  เลย รวมทั้งยังรองรับ DSP ไปในตัวอีกด้วย  เพียงเท่านี้  ก็คงจะเป็นที่น่าสนใจสำหรับ นักพัฒนา Embedded Linux กันน่ะครับ  เพราะ Beagle Board ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ  ทางเลือกหนึ่ง  

ซึ่งรายละเอียดและขุ้้นตอนการพัฒนา โดยเริ่มต้นสามารถดูได้จากข้อมูลที่เว็บไซต์ www.thaiembedded.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ผมได้ศึกษามาโดยตลอด  และก็ต้องขอขอบคุณพี่  ๆ  ที่เว็บไซต์นี้เป็นอย่างมากที่คอยให้คำปรึกษา และ แลกเปลี่ยน องค์ความรู้กัน
     

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สวัสดีครับ หลังจากที่ไม่ได้เข้ามาอัพเดตซะนาน

หายไปนานเลยน่ะครับ   ที่ไม่ได้มาอัพเดตข้อมูลเพิ่มเติมเลย  หลังจากที่ได้ปิดโปรเจคไป  

ตอนนี้ก็ทำงานแล้ว  แต่ก็ยังได้มีโอกาสสัมผัสกับ เทคโนโลยี Embedded Linux  อยู่เรื่อย ๆ น่ะครับ  

สำหรับผู้ที่เปิดมาเจอ  ก็อย่าเพิ่งเบื่อหน่ายกับข้อมูลที่ผมได้นำมาแบ่งปันน่ะครับ  และจะอัพเดตเข้ามาเรื่อย ๆ 

ถ้ามีเวลาน่ะครับ  ตอนนี้ก็กำลังลองเล่นกับ BeagleBoard xM น่ะครับ แล้วจะนำมาแชร์ให้อ่านกัน

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ARM 9 Communication MCUs Boards Via USB Protocol

การทดสอบการเชื่อมต่อและการติดต่อสื่อสารระหว่างไมโครคอนโทรเลอร์กับบอร์ด ARM 9 ผ่าน
ยูเอสบี


รายละเอียดของซอฟต์แวร์และเฟิมแวร์ที่ใช้ทดสอบ

  • ใช้ไลบราลี่ยูเอสบีแสตค (Microchip USB/Stack Libraries) ของบริษัทไมโครชิพ
  • ใช้ยูเอสบีคลาสเจเนริกดีไวซ์ (Generic Device USB)

เมื่อทำการเชื่อมต่อ MCUs Board เข้ากับ ARM9 ใช้คำสั่งเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์




ทดสอบโดยอ่านค่าแอนะลอกช่องที่ 0



ภาพประกอบการทดสอบ