วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

การใช้งาน apache2 + php5 + Sqlite และ Qt + Sqlite

            เนื่องจากการใช้งานบน linux-pc และ การใช้งานบน mini2440 นั้นมีความคล้ายคลึงกันจึงขออธิบายเฉพาะการใช้งานบน linux-pc น่ะครับ

  1. เริ่มต้นให้ทำการติดตั้งแพกเกจ apache2 + php5 + Sqlite โดยใช้คำสั่ง

    sudo apt-get install  apache2  php5  php5-cli  php5+sqlite  sqlite3


  2. เนื่องจาก tool ที่ใช้ในการจัดการของ Sqlite แบบ GUI  สำหรับที่ใช้ในการทดสอบคือ sqlitebrowser สามาถติดตั้งโดย

    sudo apt-get install sqlitebrowser
  3. ทดสอบโดยการสร้างฐานข้อมูลชื่อ dbtest และสร้างตาราง profile ขึ้นมาดังรูป




  4. จากนั้นทำการ save และ copy ไฟล์ไปไว้ในโฟลเดอร์ที่ทำการรันhttp ในที่นี้คือ /var/www โดยใช้คำสั่ง 

    sudo cp -p /dbtest /var/www

  5. ทำการทดสอบโดยสร้างโปรเจค Qt ขึ้นมาแล่ะทดสอบโดยการเขียนโคดอย่างง่าย ๆ เพื่อ insert ข้อมูลเข้าไปใน database Sqlite
    โดยเมื่อสร้างโปรเจคแล้วให้เข้าไปเพิ่ม path plugin ของ sql ในไฟล์ .pro ดังรูป



  6. จากนั้นทำการพิมพ์โคดเพื่อทดสอบ และ รันโปรแกรมโดยใช้สถานนะเป็น root ด้วยการ

    sudo ./test


  7. เข้าไปที่โฟลเดอร์ /var/www และทำการสร้างไฟล์ php เพื่อทดสอบการติดต่อกับฐานข้อมูล

    cd /var/www
    sudo gedit new.php





    จากนั้นทดสอบโดยการเปิดหน้าเว็บขึ้นมาโดยเรียก ip ไปที่เครื่องที่เก็บฐานข้อมูลดังรูป

                    สำหรับการใช้งานใน mini2440 มีการติดตั้งและการใช้งานเหมือนกับ linux-pc แต่เพื่อความสะดวกในการสร้างและจัดการฐานข้อมูลจึงเลือกที่จะสร้างฐานข้อมูลและตารางต่างๆ ให้พร้อมก่อนทำการย้ายไปเก็บไว้บน mini2440 แล้วใช้ Qt ในการจัดเก็บข้อมูลอีกทีหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

Ultrasonic Distance Detector Module : SRF05

โมดูลตรวจจับและวัดระยะทางด้วยอัลตร้าโซนิก


        SRF05 เป็นแผงวงจรวัดตรวจจับและวัดระยะทางด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิกที่มีความเที่ยงตรงสูงโดยสามารถวัดระยะทางได้ไกลถึง 4 เมตร ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ง่ายโดยใช้ขาเชื่อมต่อเพียง 1 หรือ 2 ขา ขึ้นอยู่กับการกำหนดรูปแบบการทำงานทางฮาร์ดแวร์ เหมาะอย่างยิ่งกับการประยุกต์ใช้งานด้านหุ่นยนต์


คุณสมบัติ
  • ใช้ไฟเลี้ยง +5 โวลต์ ต้องการกระแสไฟฟ้า 30 มิลลิแอมป์
  • ใช้ตัวรับและส่งคลื่นอัลตร้าโซนิก ใช้ความถี่ 40 กิโลเฮริตซ์ ในการทำงาน
  • วัดระยะทางในช่วง 1 เซนติเมตรถึง 4 เมตร
  • สัญญาณพัลส์สำหรับกระตุ้นการทำงาน ต้องมีความกว้างอย่างน้อย 10 ไมโครวินาที
  • ให้ผลลัพธ์จากการวัดระยะเป็นค่าความกว้างพัลส์ซึ่งเป็นสัดส่วนกับระยะทางที่วัดได้  
  • มีขนาดเล็กคือ 43 มิลลิเมตร × 20 มิลลิเมตร × 17 มิลลิเมตร (กว้าง  × ยาว  ×สูง)
  • สามารถติดต่อได้ 2 แบบคือ แบบ 2 สัญญาณ (Echo กับ Trigger) และแบบอนุกรมสัญญาณเส้นเดียว

หลักการทำงาน
               SRF05 จะทำการส่งสัญญาณคลื่นอัลตร้าโซนิกออกไป แล้ววัดระยะเวลาที่มีสัญญาณสะท้อนตอบกลับมา เอาต์พุตที่ได้จาก SRF05 จะอยู่ในรูปของความกว้างพัลส์ซึ่งสัมพันธ์กับระยะทางของวัตถุที่ตรวจจับได้ ความถี่ของสัญญาณอัลตร้าโซนิกของ SRF05 คือ กิโลเฮริตซ์ ถูกส่งออกไปในอากาศด้วยความเร็ว 1.125 ฟุตต่อมิลลิวินาที (ประมาณ 346 เมตรต่อวินาที) ดังนั้นเมื่อทราบความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่น เวลาเริ่มต้นส่งคลื่น และเวลาที่ได้รับ เสียงสะท้อนกลับมา ซึ่งความกว้างพัลส์สะท้อนต้องอยู่ในช่วง100 ไมโครวินาที ถึง 25 มิลลิวินาที จึงสามารถคำนวณหาค่าของระยะทางได้ ถ้ามากกว่า 30 มิลลิวินาที แสดงว่าตรวจจับไม่พบวัตถุ

 รูปแสดงหลักการตรวจจับวัตถุโดยใช้สัญญาณความถี่เหนือเสียงหรืออัลตร้าโซนิก


จุดเชื่อมต่อการใช้งานของ SRF05

                                                                       รูปแสดงจุดเชื่อมต่อการใช้งานของ SRF05

จุดเชื่อมต่อสำหรับใช้งานมีทั้งหมด 5 จุด
                                1. ขาไฟเลี้ยง (+5 V) สำหรับต่อไฟเลี้ยงแรงดัน +5 โวลต์
                                2. ขา Echo Pulse Output (ECHO) เป็นขาเอาต์พุตสำหรับส่งสัญญาณพัลส์ออกจาก SRF05 ซึ่งการใช้งานจะนำขานี้ไปต่อเข้ากับพอร์ตอินพุตของไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อตรวจจับความกว้างของสัญญาณพัลส์ที่ส่งออกมาเพื่อแปลความหมายออกมาเป็นระยะทางอีกครั้งหนึ่ง
                                3. ขา Trigger Pulse Input (TRIGGER) เป็นขาอินพุตรับสัญญาณพัลส์ที่มีความกว้างอย่างน้อย 10 ไมโครวินาทีเพื่อกระตุ้นการสร้างคลื่นอัลตร้าโซนิกความถี่ 40 กิโลเฮริตซ์ ออกสู่อากาศจากตัวส่ง ดังนั้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบสิ่งกีดขวางที่อยู่เบื้องหน้าก็จะเกิดการสะท้อนกลับมายังตัวรับ และถูกแปลงออกมาเป็นความกว้างของสัญญาณพัลส์ที่จะส่งออกไปทางขา ECHO นอกจากนี้ในโหมด 1 สัญญาณ จะใช้จุดนี้เป็นจุดสื่อสารข้อมูลอนุกรมเพื่อรับส่งค่าการวัดกับไมโครคอนโทรลเลอร์
                                4. ขา MODE สำหรับเลือกรูปแบบการติดต่อกับ SRF05 
                                    ปล่อยลอยไว้ (NC): เลือกให้ติดต่อแบบ 2 สัญญาณ ผ่านจุดต่อ ECHO และ TRGGER
                                    ต่อลงกราวด์          :  เลือกให้ติดต่อแบบ 1 สัญญาณ ผ่านจุดต่อ TRIGGER
                                5. ขา GND สำหรับต่อกราวด์ 0 โวลต์

โหมดการใช้งาน
มีโหมดการใช้งาน 2 โหมด
                1. การติดต่อแบบ 2 สัญญาณ ผ่านจุดต่อ ECHO และ TRIGGER

รูปแสดงจุดเชื่อมต่อการใช้งานของ SRF05 ในกรณีติดต่อแบบ 2 สัญญาณ

               รูปไดอะแกรมเวลาแสดงสัญญาณที่ส่งไป และสัญญาณที่ตอบกลับของ SRF05 ในกรณีติดต่อแบบ 2 สัญญาณ


                2. การติดต่อแบบ 1 สัญญาณ ผ่านจุดต่อ TRIGGER

รูปแสดงจุดเชื่อมต่อการใช้งานของ SRF05 ในกรณีติดต่อแบบ 1 สัญญาณ

รูปไดอะแกรมเวลาแสดงสัญญาณที่ส่งไป และสัญญาณที่ตอบกลับของ SRF05 ในกรณีติดต่อแบบ 1 สัญญาณ